การวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์กรีนพลัส
ทำการวิจัยและทดสอบโดย ดร. ภาคภูมิวัชรขจร บริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ และ ทีมวิจัย โดยทำการทดสอบในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ข้าว และ ทุเรียน มีผลการทดสอบดังนี้
1. ทดสอบในข้าว
1.1 การใช้ในการปลูกข้าว
รูปที่ 2: ความสมบูรณ์ของรากและต้นข้าวหลังจากการใช้กรีนพลัส
จากผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า กรีนพลัส สามารถย่อยสลายเซลลูโลสเพื่อเร่งกระบวนการหมัก ย่อยสลายฟางข้าว ตอข้าว ให้กลายเป็นปุ๋ย นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสม เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารในดินที่เป็นประโยชน์และสร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นข้าว และกำจัดแก๊สไข่เน่าในนาข้าว
กรีนพลัสช่วยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ ต้นแข็งแรง รากขาว แตกกอดี ทั้งนี้ยังสามารถลดต้นทุนในการปลูก และลดการใช้สารเคมี กรีนพลัสมีประโยชน์ในการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก
1.2 ใช้ในการเพิ่มผลผลิตในการปลูกข้าว
ทำการวิจัยและทดสอบการปลูกข้าวและการเพิ่มผลผลิต ในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี อ่างทอง พิษณุโลก และพิจิตร โดยใช้ผลิตภัณฑ์จีพลัส ร่วมกับกรีนพลัส (กลุ่มทดสอบ) ซี่งเป็นจุลินทรีย์กำจัดเชื้อราในดิน ย่อสลายตอซังข้าว กำจัดแก๊สไข่เน่า และปรับปรุงสภาพดิน เทียบกับการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมี และยากำจัดแมลงศัตรูพืช (กลุ่มควบคุม) ตามที่เกษตรกรใช้อยู่ ผลของการเปรียบเทียบดังแสดงในตารางที่ 1
จากผลการวิจัยในตารางที่ 1 เมื่อเทียบผลการทดสอบทั้งสองกลุ่ม พบว่าในกลุ่มที่ใช้จีพลัสและกรีนพลัส ต้นข้าวมีความสูงมากกว่า จำนวนต้นต่อกอมากกว่า จำนวนเมล็ดต่อรวงมากกว่า และผลผลิตต่อไร่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
เอกสารอ้างอิง
- M. Sood et al. Trichoderma: The “Secrets” of a Multitalented Biocontrol Agent. Plants 2020, 9, 762, 1-25.
- M. Mukherjee et al. Trichoderma–Plant–Pathogen Interactions: Advances in Genetics of Biological Control. Indian J Microbiol (Oct–Dec 2012) 52(4):522–529.
- A. Schuster et al. Biology and biotechnology of Trichoderma. Appl Microbiol Biotechnol (2010) 87:787–799.
- S. Zhang et al. Application of Plant-Growth- Promoting Fungi Trichoderma longibrachiatum T6 Enhances Tolerance of Wheat to Salt Stress through Improvement of Antioxidative Defense System and Gene Expression. Frontiers in Plant Science, September 2016, Volume 7, Article 1405, 1-11.
- G. Banerjee et al. Beneficial effects of bio-controlling agent Bacillus cereus IB311 on the agricultural crop production and its biomass optimization through response surface methodology. Biological Sciences, An Acad Bras Cienc (2018), 90 (2 Suppl. 1), 2149-2159.
- R. Radhakrishnan et al. Bacillus: A Biological Tool for Crop Improvement through Bio-Molecular Changes in Adverse Environments. Frontiers in Physiology, September 2017 , Volume 8, Article 667, 1-14.
- R.L. Peterson et al. Mycorrhizae and their potential use in the agricultural and forestry industries. Biotechnology Advances, Vol. 2, Issues 1, 1984, 101-120.
- นลินี ศิวากรณ์ พจนา ตระกูลสุขรัตน์ เพลินพิศ สงสังข์ และ ศิริพร วรกุลดํารงชัย การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
- ภาคภูมิ วัชรขจร การปลูกข้าวด้วยการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อทำเกษตรอินทรีย์ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
- มัลลิกา จินดาซิงห์ การใช้จุลินทรีย์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร