นวัตกรรมทางการเกษตร
นวัตกรรมทางการเกษตร
” ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “
เกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประชากรไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมาก
ประเทศไทยมีเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรประมาณ 149 ล้านไร่ ใช้ทำนาข้าวมากที่สุดร้อยละ 46 รองลงมาคือสวนไม้ผล และไม้ยืนต้นร้อยละ 25 และพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ร้อยละ 21 ในส่วนที่เหลือจะเป็นพวกไม้ดอกและอื่น ๆ เช่น ปศุสัตว์ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2562)
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย การนำเข้าและใช้สารเคมีเหล่านี้โดยไม่มีการควบคุม และไม่มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
จะส่งผลให้เกิดปัญหาผลกระทบหลายด้าน เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบริเวณเพาะปลูก การตกค้างในผักและผลไม้ในปริมาณมากจนส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค รวมถึงมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร เป็นต้น
โรคพืชที่เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในการทำเกษตรกรรม โดยสร้างผลเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดกับเกษตรกรมายาวนาน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เป็นโรคที่ป้องกันและกำจัดยากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับโรคอื่น ๆ ทำให้เกษตรกรจึงต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน คือ พ่นสารเคมีทางใบ ฉีดสารเคมีเข้าลำต้น และ ถากเปลือกลำต้นบริเวณแผลเน่า แล้วทาด้วยสารเคมี แม้กระนั้นก็เป็นเพียงแค่การรักษาโรคได้เพียงชั่วคราว หรือเป็นการยืดเวลาให้ต้นพืชที่เป็นโรคให้ทรุดโทรมช้าลงเท่านั้น
ทีมวิจัยได้ตระหนักถึงปัญหาของการใช้สารเคมีการเกษตรดังกล่าวข้างต้น จึงได้ คิดค้น วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมุ่งเน้นในการ
นำมาใช้ทดแทนสารเคมีเหล่านั้น การใช้สารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคในพืช สามารถเร่งการเจริญเติบโต และต้นทุนต่ำ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยต่อเกษตรกร ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ปลูก ไม่สะสมในผลผลิต ทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้