กรีนพลัส Green Plus
อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003003234
นวัตกรรมสารปรับปรุงสภาพดิน ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลากหลายชนิด และสารอาหารเสริมพิเศษ โดยมีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพดินและรักษาความเป็นกรดด่างของดิน สามารถเพิ่มจุลินทรีย์ได้ถึง 5 สายพันธุ์ คือ ไตรโคเดอร์มา ฮาเซียนั่ม บาซิลลัส ซับทีลิส แลคโตบาซิลลัส แซคคาโรไมซ์ และ ไมคอร์ไรซา มีประโยชน์ในการใช้ป้องกันและกำจัดเชื้อโรคในดิน ปรับสภาพดินให้เหมาะสมมีคุณภาพ ปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน เพิ่มการเจริญเติบโต ย่อยแร่ธาตุและเซลลูโลส ย่อยสลายฟางข้าว ตอซังข้าว และ กำจัดแก๊สไข่เน่า
ดร.ภาคภูมิ วัชรขจร เป็นคนแรกที่ได้คิดค้นวิธีการที่สามารถทำให้จุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่างๆเหล่านี้สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยการทำให้จุลินทรีย์แต่ละชนิดอยู่ในสปอร์ เคลือบสปอร์นั้นไว้ และให้อยู่ร่วมกันในตัวกลางที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ เมื่อจะนำมาใช้จะต้องทำการบูมเชื้อ เพื่อทำให้จุลินทรีย์ทั้ง 5 สายพันธุ์ออกมาจากสปอร์ และขยายจำนวนได้อย่างรวดเร็ว การคิดค้น วิจัย และพัฒนากรีนพลัส ดังแสดงในรูปที่ 1
วิธีการใช้กรีนพลัส
- ใส่จุลินทรีย์ 1 ถุง (500กรัม) ในน้ำสะอาด 500 ลิตร คนให้เข้ากัน
- ปิดฝา แล้วตั้งทิ้งไว้ในที่แสงรำไร 2 ชั่วโมง
- ก่อนใช้คนให้เข้ากันอีกครั้ง
- ก่อนใช้กรีนพลัส ให้รดน้ำบริเวณใต้ต้นให้ชุ่ม
- การใช้ สามารถปล่อยไปกับระบบน้ำที่มีอยู่ หรือ ใช้เครื่องฉีดพ่น โดยฉีดพ่นลงดินบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ชุ่ม
- ควรใช้ทุกๆ 3 เดือน
การวิจัยและทดสอบกรีนพลัส
ทำการวิจัยและทดสอบโดย ดร. ภาคภูมิวัชรขจร บริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ และ ทีมวิจัย โดยทำการทดสอบในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ข้าว และ ทุเรียน มีผลการทดสอบดังนี้
ผลการใช้กรีนพลัส
- การปลูกข้าว ดูรายละเอียด
- การรักษาโรครากเน่าในทุเรียน ดูรายละเอียด
- การรักษาโรคกรินนิ่ง ดูรายละเอียด
- การรักษาโรคเชื้อราในส้มโอ ดูรายละเอียด
- การรักษาโรคอื่นๆ ดูรายละเอียด
เอกสารอ้างอิง
- M. Sood et al. Trichoderma: The “Secrets” of a Multitalented Biocontrol Agent. Plants 2020, 9, 762, 1-25.
- M. Mukherjee et al. Trichoderma–Plant–Pathogen Interactions: Advances in Genetics of Biological Control. Indian J Microbiol (Oct–Dec 2012) 52(4):522–529.
- A. Schuster et al. Biology and biotechnology of Trichoderma. Appl Microbiol Biotechnol (2010) 87:787–799.
- S. Zhang et al. Application of Plant-Growth- Promoting Fungi Trichoderma longibrachiatum T6 Enhances Tolerance of Wheat to Salt Stress through Improvement of Antioxidative Defense System and Gene Expression. Frontiers in Plant Science, September 2016, Volume 7, Article 1405, 1-11.
- G. Banerjee et al. Beneficial effects of bio-controlling agent Bacillus cereus IB311 on the agricultural crop production and its biomass optimization through response surface methodology. Biological Sciences, An Acad Bras Cienc (2018), 90 (2 Suppl. 1), 2149-2159.
- R. Radhakrishnan et al. Bacillus: A Biological Tool for Crop Improvement through Bio-Molecular Changes in Adverse Environments. Frontiers in Physiology, September 2017 , Volume 8, Article 667, 1-14.
- R.L. Peterson et al. Mycorrhizae and their potential use in the agricultural and forestry industries. Biotechnology Advances, Vol. 2, Issues 1, 1984, 101-120.
- นลินี ศิวากรณ์ พจนา ตระกูลสุขรัตน์ เพลินพิศ สงสังข์ และ ศิริพร วรกุลดํารงชัย การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
- ภาคภูมิ วัชรขจร การปลูกข้าวด้วยการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อทำเกษตรอินทรีย์ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
- มัลลิกา จินดาซิงห์ การใช้จุลินทรีย์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร