• English
  • ไทย
  • การรักษาโรครากเน่าในทุเรียนด้วยนวัตกรรมทางการเกษตร

    การใช้รักษาโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

    การวิจัยและทดสอบนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้ผลิตภัณฑ์จีพลัส ร่วมกับผลิตภัณฑ์กรีนพลัสซี่งเป็นจุลินทรีย์กำจัดเชื้อราในดินและปรับปรุงสภาพดิน (กลุ่มทดสอบ) เทียบกับการใช้ยาเคมีเมธาแลกซิล (กลุ่มควบคุม) ในการกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า ในพื้นที่สวนทุเรียนภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรีและ ตราด รวม 12 สวน เนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่

    ผลการวิจัยและทดสอบนี้ พบว่าในการใช้จีพลัสร่วมกับกรีนพลัส มีประสิทธิภาพในการรักษาโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนได้ดีกว่าการใช้ยาเคมีเมธาแลกซิลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื้อเยื่อทุเรียนได้รับการตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ดิจิทัล พบว่าเนื้อเยื่อในกลุ่มที่ใช้เมทาแลกซิลนั้นไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง คือมีลักษณะแห้ง เนื้อเยื่อเป็นสีแดง แสดงถึงการติดเชื้อ ส่วนในกลุ่มที่ใช้จีพลัสและกรีนพลัสมีการเจริญของเนื้อเยื่อใหม่ มีลักษณะชุ่มน้ำ เนื้อเยื่อสีเหลืองหรือขาว ซึ่งแสดงว่าหายจากการติดเชื้อรา ดังแสดงในรูปที่ 3

    รูปที่ 3: ผลของเนื้อเยื่อที่ตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์ดิจิทัล

    เมื่อพิจารณา improvement scores (ใช้บอกถึงอาการของทุเรียนดีขึ้น โดย 0 คือไม่เปลี่ยนแปลง ถึง 5 คือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน) พบว่าในกลุ่มที่ใช้จีพลัสและกรีนพลัส ต้นทุเรียนมีอาการเปลี่ยนแปลงจากโรครากเน่าโคนเน่า ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ใช้ยาเมทาแลกซิล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ดังแสดงในตารางที่ 2 (รายละเอียดของการวิจัยนี้อยู่ในเอกสารการวิจัยทดสอบนวัตกรรมเพื่อการเกษตร โดย ดร.ภาคภูมิ วัชรขจร และทีมวิจัย)

    เอกสารอ้างอิง

    1. M. Sood et al. Trichoderma: The “Secrets” of a Multitalented Biocontrol Agent. Plants 2020, 9, 762, 1-25.
    2. M. Mukherjee et al. Trichoderma–Plant–Pathogen Interactions: Advances in Genetics of Biological Control. Indian J Microbiol (Oct–Dec 2012) 52(4):522–529.
    3. A. Schuster et al. Biology and biotechnology of Trichoderma. Appl Microbiol Biotechnol (2010) 87:787–799.
    4. S. Zhang et al. Application of Plant-Growth- Promoting Fungi Trichoderma longibrachiatum T6 Enhances Tolerance of Wheat to Salt Stress through Improvement of Antioxidative Defense System and Gene Expression. Frontiers in Plant Science, September 2016, Volume 7, Article 1405, 1-11.
    5. G. Banerjee et al. Beneficial effects of bio-controlling agent Bacillus cereus IB311 on the agricultural crop production and its biomass optimization through response surface methodology. Biological Sciences, An Acad Bras Cienc (2018), 90 (2 Suppl. 1), 2149-2159.
    6. R. Radhakrishnan et al. Bacillus: A Biological Tool for Crop Improvement through Bio-Molecular Changes in Adverse Environments. Frontiers in Physiology, September 2017 , Volume 8, Article 667, 1-14.
    7. R.L. Peterson et al. Mycorrhizae and their potential use in the agricultural and forestry industries. Biotechnology Advances, Vol. 2, Issues 1, 1984, 101-120.
    8. นลินี ศิวากรณ์ พจนา ตระกูลสุขรัตน์ เพลินพิศ สงสังข์ และ ศิริพร วรกุลดํารงชัย การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
    9. ภาคภูมิ วัชรขจร การปลูกข้าวด้วยการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อทำเกษตรอินทรีย์ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
    10. มัลลิกา จินดาซิงห์ การใช้จุลินทรีย์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร